หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

” มหัศจรรย์ แม่มูล กลาง ลำน้ำมูล หาดทรายผุด เดือนเมษา “

ความเป็นมา ก่อนจะมาเป็น หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี. หาดบุ่งสระพัง มรดกทางธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่อาจสร้างขึ้นได้ ทุก ๆ หน้าร้อน ประมาณ เมษายน ของ ทุก ๆ ปี จะ มี หาดทราย ผุด กลาง ลำน้ำมูล ทุก ๆ ปี หาดบุ่งสระพัง เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชน เพราะวิสัยทัศน์และ การพัฒนาของ พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) ใน อดีต เริ่มมาจากการที่ท่านได้นำ พระภิกษุสามเณร ในปกครองของท่านไปขนทรายที่ หาดบุ่งสระพัง ขึ้นมาทำการ ก่อสร้างเสนาสนะภายใน วัดปากน้ำ และวัดใกล้เคียง ต่อมาเมื่อ หาดบุ่งสระพัง เป็นที่เล่าขานถึงความสวยงามของประชาชน ทั่วไป และ จังหวัดไกล้เคียง

หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี
พระมงคลธรรมวัฒน์ เป็นพระเถระที่มี อารมณ์แจ่มใส สุภาพอ่อนโยน ใจคอ กว้างขวางหนักแน่น โอบอ้อมอารี สงบเสงี่ยม หนักแน่นในธรรมวินัย มั่นคงอยู่ ในพรหมวิหาร มี ความกตัญญูเป็นเลิศ และ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ปกครอง อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ปกครอง มุ่งมั่นในการทำงาน และให้การอนุเคราะห์ลูกศิษย์ตลอดจนชาวบ้าน เหมือนลูกหลาน ด้วยเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง งานการพัฒนาบ้านเกิดของ พระมงคลธรรมวัฒน์ ยังไม่หยุดนิ่ง หากแต่ดำเนินไปอย่างเงียบๆ ภายใต้ความอ่อนน้อมถ่อมตน ปราศจากการโอ้อวดและประกาศให้ใครได้รับรู้ การที่ท่านได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในเมืองอุบล ในสำนักของครูบาอาจารย์ที่มีหาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานีหาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

ระเบียบวินัยเคร่งครัด และมีโอกาสได้เดินทางไปกรุงเทพฯ ตลอดจนสถานที่มีความเจริญก้าวหน้าต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญทำให้ท่านแม้จะเป็นพระหลวงตาต่างจังหวัด แต่ก็แตกต่างจากพระหลวงตาต่างจังหวัดโดยทั่วไป เพราะความเป็นผู้ผ่านสังคมเมืองมาก่อน จึงทำให้ท่านมองการณ์ไกล มีแนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญขึ้น ทัดเทียมสังคมทั่วๆ ไป พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้นำชาวบ้านตัดถนนจากหมู่บ้านลงสู่ แม่น้ำมูล พร้อมกับสร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นหลังหนึ่ง ที่ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หาดบุ่งสะพัง” ยังความแปลกประหลาดใจให้เกิดแก่ชาวบ้านในสมัยนั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวน้ำจะท่วมในหน้าฝน ซึ่งจะทำให้ถนนและศาลาเกิดความเสียหายแล้ว ชาวบ้านยังมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำเช่นนั้น

ส่วนทางด้านปลายน้ำ บุ่งสระพัง ท่านได้ขอความช่วยเหลือจากทหารหน่วยซิวิ-แอคชั่น กองทัพสหรัฐอเมริกาตัดถนนลงสู่ บุ่งสระพัง อีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อให้ชาวตำบลกระโสบ ตลอดจนตำบลใกล้เคียง เดินทางลงสู่แม่น้ำได้สะดวก และถนนสายดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า “ ทางหลวงกระโสบ ” ในเวลา ต่อมา เมื่อการเดินทางจากหมู่บ้านลงสู่ แม่น้ำมูล สะดวก ผู้คนก็เริ่ม เข้าไปพักอาศัย บ้างก็นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปเลี้ยง บ้างก็เข้าไปหาอาหาร บริเวณหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูลก็เริ่มมีผู้คนสัญจรไปมา ทั้งกลางวันและกลางคืน ต่อจากนั้น ท่านเริ่มให้พระเณรนำทรายจากหาดทรายขึ้นไปใช้ในการก่อสร้างภายในวัด และเริ่มนำชาวบ้านพัฒนา หาดบุ่งสระพัง ให้มีความ สวยงามมากยิ่งขึ้น และ กำหนดให้มีกิจกรรม ต่าง ๆ ในเทศกาลที่เกี่ยวกับวันสำคัญ เช่น ลอยกระทง และ ก่อเจดีย์ทราย ใน เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น. ณ ปัจจุบัน หาดบุ่งสระพัง เปรียบเหมือน พัทยากลางลำน้ำมูล มีหาดทรายสายสวยงามส่องประกายวาวระยิบระยับยามเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ถ้ายืนอยู่บนฝั่งก็สามารถมองเห็นหาดทรายทอดลงไปในแม่น้ำมูลจนเกือบจะถึงอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ

ในที่สุดชื่อเสียงของ หาดทราย แห่งนี้เริ่มเป็นที่กล่าวขานถึง และกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ผู้คนหลงใหลในความสวยงาม ในเวลาต่อมา ในแม่น้ำมูลตลอดสาย มี หาดบุ่งสระพัง เป็น หาดแห่งเดียวที่มีทรายไหลมารวม กันจนกลายเป็นเนิน สามารถ เล่น กิจกรรมต่าง ๆ กลาง แม่น้ำมูล เช่น ก่อกองทราย เล่น กีฬา ประเภทต่าง ๆ หาดบุ่งสระพัง มี เนินทราย กลาง ลำน้ำมูล จำนวนมาก เนื่องจากแม่น้ำมูลบริเวณดังกล่าวเป็นโค้งคุ้งน้ำ แม่น้ำฝั่งอำเภอวารินชำราบเป็นร่องน้ำลึก มีตลิ่งค่อนข้างสูง จึงทำให้ทราย ไหลมารวมกันอยู่ฝั่งอำเภอเมืองตรงบริเวณ หาดบุ่งสระพัง ซึ่งมีท่าน้ำราบเรียบ พอถึงหน้าแล้ง ก็จะมีเนินทรายผุดขึ้นกลางลำน้ำมูลขาวโพลน นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นแม่น้ำมูล หรือเดินข้าม แม่น้ำมูล ได้เพราะความเป็นมรดกทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นได้ พระมงคลธรรมวัฒน์จึงพยายามที่จะรักษาหาดทรายแห่งนี้ไว้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน และพยายามปลูกฝังให้ชาวบ้านเกิดความรักและเห็นความสำคัญ แม้จะมีผู้พยายามที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ขอสัมปทานดูดทรายจากหาดแห่งนี้ แต่ท่านก็พยายามแนะนำให้ลูกหลานชาวบ้านรู้คุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเหล่านี้ และให้ช่วยกันหวงแหน ภายหลังทางราชการได้เข้ามาช่วยรับผิดชอบ ท่านจึงนำ ชาวบ้านปรับปรุงศาลาเรือนไม้ที่สร้างไว้แต่เดิมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นศาลาคอนกรีต เพื่อให้เกิดความมั่นคงถาวรสืบไป

หาดบุ่งสระพัง แหล่งท่องเที่ยว ริมน้ำมูล ยอดฮิต อุบล

หาดบุ่งสระพัง เป็น แหล่งท่องเที่ยว ยอดฮิต จังหวัดอุบลราชธานี ใกล้เมือง อีกแห่งหนึ่งที่ ประชาชน นักท่องเที่ยว ต่างจังหวัดใกล้เคียงนิยมไปพักผ่อน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี หาดบุ่งสระพัง ช่วง เทศกาลสงกรานต์ ทุกๆ ปี จะมีนักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วสารทิศ เนืองแน่น จำนวนมาก มาที่ หาดบุ่งสระพัง แห่งนี้ ช่วงเช้าจะเข้าวัด ทำบุญ เพื่อสิริมงคล สักการะ ขอพร พระหลวงพ่อเงิน 700 ปี แล้ว นักท่องเที่ยว ก็จะ มาปิดท้ายด้วยการเล่นน้ำ สงกรานต์ กันที่ หาดบุ่งสระพัง แห่งนี้ โดย หาดบุ่งสระพัง จะมี กิจกรรม งานประจำปี ทุก ๆ ปี คู่ กับ งานประเพณี แห่หลวงพ่อเงิน 700 ปี นั่นคือ มหาสงกรานต์ หาดบุ่งสระพัง ระหว่าง วันที่ 12-16 เมษายน ทุก ๆ ปี

แนะนำ เมื่อมาท่านได้มา เที่ยวหาดบุ่งสระพัง อย่าลืม !!

  • หลวงพ่อเงิน 700 ปี  สักการะ ขอพระ พระศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง ที่ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง
  • วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ (ก่อนถึงหาดบุ่งสระพัง ซ้ายมือของท่าน, แวะสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด เก่าแก่ ภายในวัดร่มรื่น แวดล้อมด้วยป่าไม้ธรรมชาติ)
  • เจดีย์บุ่งสระพัง เจดีย์สีทองเหลืองอร่าม เจดีย์แห่งชุมชน บ้านปากน้ำ ( ตั้งอยู่หาดบุ่งสระพัง )
  • หาดบุ่งสระพัง ร้านอาหาร แพริมน้ำ ทอดยาวนับกิโล ริมแม่น้ำมุล บรรกาศ ทานอาหาร นั่งสบายภายในแพ บรรยากาศส่วนตัว ลมเย็น สัมผัสธรรมชาติ แม่น้ำมูล

 

🎯 ร่วมรีวิว หาดบุ่งสระพัง 🌐 https://www.facebook.com/pg/boongsapang/reviews/
🎯 กดไลค์ ติดตาม เพจ หาดบุ่งสระพัง 🌐 https://www.facebook.com/boongsapang/

แผนที่ หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี

แชร์เรื่องราวให้คนอื่นรู้