วัดป่าบ้านบาก หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) อุบล

บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ตำบลกุดลาด อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี

วัดป่าพระพิฆเณศวร์ หรือ วัดป่าบ้านบาก บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) เป็นวัดร้างตั้งอยู่ในดงพระคเณศ หรือ ดงพิษเณศ ตามภาษาปากชาวบ้าน เดิมเป็นชุมชนบุ่งสระพังโบราณ เรียกว่า “บ้านตาเณศ” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ยุคหินตั้ง มีการขุดพบโครงกระดูกคน ๘ ศอก และใบเสมาหินทรายหลากหลายขนาดตั้งกระจายอยู่ตามป่า มีการพบพระพิฆเณศวร์หินทราย ชาวบ้านเรียกพระมีงวง,โคอุสุภราชหินทราย หรือโคนนทิ ชาวบ้านเรียกกระทิงหมอบ และพบปลียอดปราสาท สันนิษฐานว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นเทวสถานมาก่อน เมื่อมีการรับพระพุทธศาสนาแบบทวารวดี จึงได้เปลี่ยนเทวสถานให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา. เนื่องจากบ้านตาเณศ ชุมชนบุ่งสระพังตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลและตามแนวบุ่งสระพัง จึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ ประกอบกับเกิดโรคห่าลง ปีหนึ่ง ผู้คนล้มตายเป็นใบไม้ร่วง ต้องถอนเสาบ้านเสาเรือนหนีเข้าไปอยู่ตามป่าตามดง

ปู่คำแหง ปู่คำหาญ ปู่คำลือชา ปู่ทองลาย และปู่จันทร์วงศ์ ซึ่งเป็นหลักบ้านอยู่ในยุคสมัยนั้น จึงชวนกันย้ายหมู่บ้านขึ้นไปอยู่ดงบากใหญ่ ที่ตั้งหมู่บ้านปากน้ำ ในปัจจุบัน และสร้างวัดปากน้ำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๒๐ โดยได้ขนย้ายพระพุทธรูปหินและเสมาหินขึ้นไปไว้ในหมู่บ้านด้วย
ต่อมา ในราวปี พ.ศ. ๒๓๑๑ พระวอพระตาอพยพจากหนองบัวลุ่มภูมาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บ้านดอนมดแดง ได้ให้กองช้างกองม้ามาตั้งบ้านบำรุงรี้พลช้างม้าอยู่บริเวณดงพระคเณศ กลุ่มพระวอพระตาจึงเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มา

ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ ปากบุ่งสระพัง
เมื่อประสบกับปัญหาน้ำท่วม กลุ่มพระวอพระตาจึงได้ย้ายไปอยู่ดงอู่ผึ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน ชุมชนโบราณบ้านตาเณศจึงกลายเป็นป่าดงพงพี ไม่มีใครย่างกรายเข้าไป ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ดงพระคเณศ” หรือ “ดงพิษเณศ”

ในวันศีล(วันพระ) มักจะมีดวงไฟเท่าจาวมะพร้าวสุกสว่างลอยดวงจาก หอปู่ บุ่งสระพังมา ดงพระคเณศ แล้วลอยจาก ดงพระคเณศ ขึ้นไปหมู่บ้าน บ้านปากน้ำ คนเฒ่าคนแก่บอกลูกบอกหลานว่า “ปู่วัดป่า เพิ่นขึ้นมายามกัน” ปู่วัดป่าขึ้นมาเยี่ยมกัน บางครั้ง จะมีไฟพะเนียงพุ่งขึ้นจากดินแล้ววิ่งหายเข้าไปในป่าโนนบก ทางลงหาดบุ่งสระพังบ้าง พุ่งขึ้นจากป่าโนนบกหายเข้าไปใน วัดป่าพระพิฆเณศวร์ บ้าง บางทีก็หายลงไปใน หนองสะทัง บ้าง คนเฒ่าคนแก่บอกลูกบอกหลานว่า “ปู่เพิ่นย้ายสมบัติหนี ย้านคนหาพ้อ” ปู่ย้ายสมบัติหนี เพราะกลัวคนหาเจอ ใครเจตนาไม่ดี ไม่มีบุญ ไม่มีบารมี คิดจะไปเอาสมบัติปู่ หากไม่เจองูใหญ่ไล่ ก็มีอันได้ว่ายบกกันทุกคน
ตกถึงวันศีล (วันพระ) มักจะเห็นแสงไฟสีเขียวเท่าลำตาลพุ่งขึ้นจากโนนบกสว่างไสวมาทางวัดป่าพระพิฆเณศวร์ มองเห็นจากที่ไกลได้ราว ๑ กิโลเมตร จากนั้น จะตามมาด้วยเสียงฆ้องทองคำใหญ่ดังสะท้อนมาจากหนองสะทัง

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕ หลวงปู่พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) ชาวบ้านเรียกว่า “ญาถ่านจันทร์” ”พ่อถ่านจันทร์“ หรือ “หลวงตาจันทร์” ได้ออกมาปักกลดเจริญวิปัสสนาในดงพระคเณศ เกิดเหตุการณ์เครื่องบินทหารสหรัฐอเมริกาตกบริเวณบ้านปากน้ำ ทหารสหรัฐอเมริกาได้มาพบพ่อถ่านปักกลดอยู่ในป่ารูปเดียว ทำให้เกิดศรัทธา จึงขนอิฐ หิน ปูน เหล็ก ทราย มาช่วยสร้างอุโบสถ ต่อมา ท่านได้นิมิตว่า เจ้าที่ในดงพระคเณศให้ขุดหลวงพ่อเงินและสิ่งของต่างๆ ขึ้นมาเก็บรักษาไว้
ตามหลักฐานทางโบราณคดี วัดป่าพระพิฆเณศวร์น่าจะเปลี่ยนผ่านกาลเวลามาหลายยุคหลายสมัย ผ่านความรุ่งโรจน์และเสื่อมสลายสลับกันไป จนกลายเป็นแหล่งโบราณคดีที่ทับถมกันมา ๓ ยุคด้วยกัน คือ
๑)ยุคอาณาจักรเจนละ (ราวพ.ศ. ๑๑๐๐ -๑๓๐๐ ปี) พบพระพิฆเณศวร์หินทราย, หินปลียอดปราสาท และโคอุสุภราชหินทราย (หรือโคนนทิ) ชาวบ้าน เรียกว่า “งัวกระทิงหมอบ”
ปัจจุบัน พระพิฆเณศวร์ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดสุปัฏนารามในเมืองอุบลราชธานี

๒) ยุคทวารวดี (ราว พ.ศ.๑๑๐๐-๑๗๐๐ ปี) พบพระพุทธรูปนาคปรกหินทรายหลายองค์ พระสังกัจจายหินทราย และพระพุทธรูปหินทรายปางต่าง ๆ ปัจจุบัน ถูกอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดปากน้ำ(บุ่งสระพัง)
นอกจากนั้น บริเวณดงพระคเณศ ยังพบกลุ่มใบเสมาหินทรายหลากหลายขนาดตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามป่า เสมาบางอันติดพลอยหลากสี ประดับประดาสวยงาม และยังได้พบโครงกระดูกคนโบราณ ชาวบ้านเรียกว่า “กระดูกคนแปดศอก” พ่อถ่านจันทร์ได้สร้างธาตุบรรจุไว้ เรียกว่า “ธาตุคนแปดศอก”

๓) ยุคพระวอ-พระตา ตั้งเมืองดอนมดแดง (ราว พ.ศ. ๒๓๑๑) ขุดพบหลวงพ่อเงิน พระพุทธรูปประจำกองทัพพระวอ-พระตา ศิลปะเชียงแสน ล้านช้าง ถูกฝังไว้ภายในกล่องหิน พบพระทองคำ พระเงิน พระสัมฤทธิ์ พระผงหว่านจำปาสัก และพระในรูปแบบอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ปัจจุบัน อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่วัดปากน้ำ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน
ความยำเกรงที่ชาวบ้านปากน้ำมีต่อปู่บุ่งสระพังและปู่ดงพระคเณศถูกบอกต่อกันมา จนกลายเป็นเรื่องเล่าปรัมปราที่สะท้อนถึงความเชื่อความศรัทธาที่ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตแบบบ้าน ๆ แล้วส่งต่อสู่ลูกหลาน ผ่านการปฏิบัติตาม ฮีตคลอง ต้องเลี้ยงปู่เลี้ยงตาเป็นประจำทุกปี จนเป็นแบบแผนของชุมชนถึงปัจจุบัน


ไหว้พระพิฆเนศ อุบล สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ ศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

สายมู ! ไหว้พระพิฆเนศ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรโชคลาภให้มีแต่สิ่งดี ๆ  โชคดี มีความสุข สมหวังดังความปรารถนา.  ไหว้พระพิฆเนศ ที่ไหนดี ?  ไหว้พระพิฆเนศ ศักดิ์สิทธิ์ อุบล ยอดนิยมของสายมู “วัดป่าพระพิฆเณศวร์” อีกหนึ่ง สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่นิยม สายมู อุบล ที่ วัดป่าบ้านบาก อุบล  หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ วัดป่าเงียบสงบ แวดล้อมด้วยป่าไม้ แห่งนี้ เป็นสถานที่ได้พบ พระพิฆเณศวร์หินทราย หินปลียอดปราสาท และโคอุสุภราชหินทราย(โคนนทิ) ตามความเชื่อของพราหมณ์ อยู่ในยุคอาณาจักรเจนละ (ราวพ.ศ. 1100 -1300 ปี) 

วัดป่าบ้านบาก หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ อุบล ” เทวสถานพราหม์ฮินดู ในอดีตกาล มาสู่ วัดพุทธ ในยุคปัจจุบัน “

วัดป่าพระพิฆเณศวร์ (วัดบ้านบาก) เป็นสถานที่ได้พบ พระพิฆเณศวร์หินทราย, หินปลียอดปราสาท และโคอุสุภราชหินทราย(โคนนทิ) ตามความเชื่อของพราหมณ์ อยู่ในยุคอาณาจักรเจนละ (ราวพ.ศ. 1100 -1300 ปี) และ ยัง เป็นสถานที่ขุดพบ พระพุทธรูปเงิน ศิลปะเชียงแสน ล้านช้าง (หลวงพ่อเงิน) ยุคพระวอ-พระตา ตั้งเมืองดอนมดแดง (ราว พ.ศ. 2311) ถูกฝังอยู่ใน กล่องหินทราย ภายในเต็มไปด้วยทรายเนื้อละเอียด ตลอดจนพบพระในรูปแบบอื่น ๆ อีกจำนวนมาก. ปัจจุบัน ชุมชนได้ทำการบูรณะ  ศาลปู่ดงพระคเณศ วัดป่าบ้านบาก อุบล  หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ 

พระพิฆเนศ อุบล วัดป่าบ้านบาก อุบล  หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ 

ไหว้พระ พระพิฆเนศ อุบล สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ จังหวัดอุบลราชธานี สายมู ! ไหว้ พระพิฆเนศ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรโชคลาภให้มีแต่สิ่งดี ๆ  โชคดี มีความสุข สมหวังดังความปรารถนา.  ไหว้พระพิฆเนศ ที่ไหนดี ?  พระพิฆเนศ อุบล สถานที่ไหว้พระพิฆเนศ จังหวัดอุบลราชธานี. พระพิฆเนศ วัดป่าบ้านบาก อุบล  หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์

ความเป็นมา วัดป่าบ้านบาก หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ อุบล ” เทวสถานพราหม์ฮินดู ในอดีตกาล มาสู่ วัดพุทธ ในยุคปัจจุบัน “

ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านปากน้ำในสมัยนั้น กำลังดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่อยู่นั้น ท่านก็เริ่มเข้าไปบูรณะวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่า “ วัดป่าพิฆเณศวร์ ” สืบเนื่องมาจากการขุด พระพิฆเณศวร์ หินทรายได้จากบริเวณดังกล่าว โดยมีความมุ่งหวังว่า จะทำให้วัดแห่งนี้เป็น วัดสำหรับพระธุดงค์ ที่ต้องการความสงบ ซึ่งเดินทางผ่านมาได้ปักกลด พักอาศัย ในระยะแรกท่านตั้งใจจะไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่ประจำ เพราะต้องการให้เป็นที่ปลีกวิเวก จนกว่าจะมีชุมชนเกิดขึ้นในบริเวณนี้ ในขณะเดียวกัน ท่านก็มักปลีกตัวออกจากหมู่บ้านมาจำวัดที่ วัดป่า แห่งนี้ จนเกิดความอบอุ่นใจแก่ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในอดีตท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ ได้เล่าถึงสภาพ วัดร้าง แห่งนี้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้าไปบูรณะ ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฝูงลิงจำนวนมาก มีคนเคยตามฝูงลิงพลัดหลงเข้ามาในป่าแห่งนี้ มักจะพบกับเหตุการณ์ต่างๆที่คาดไม่ถึง ต่อมา ท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงเข้าไปบูรณะวัดร้างแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดป่าประจำหมู่บ้าน

วัดป่าพระพิฆเณศวร์ วัดป่าบ้านบาก วัดป่าแห่งนี้เป็น สถานที่ขุดพบโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์ของชาติ และ ในปี พ.ศ. 2549 ยังมีรายงานการ ขุดพบ โคอุสุภราชหินทราย ซึ่งเป็นวัวพาหนะของพระอิศวร ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ที่บริเวณข้าง วัดป่าพระพิฆเณศวร์  การขุดพบ พระพิฆเณศวร์หินทราย และ โคอุสุภราชหินทราย ซึ่งเป็น วัวพาหนะของพระอิศวร ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ที่บริเวณ วัดร้างแห่งนี้ ทำให้เชื่อแน่ได้ว่า วัดป่าพระพิฆเณศวร์ – วัดป่าบ้านบาก สถานที่แห่งนี้จะเป็นชุมชนโบราณ และเป็น สถานที่ทางศาสนาพราหมณ์  เทวสถาน ใน ยุคเจนละบกเจนละน้ำ  ในยุคที่เฟื่องฟู เจริญรุ่งเรือง ในครั้งอดีตกาล มีอิทธิพลสืบต่อมาจนถึงเขมรยุคเมืองพระนคร

ต่อมา เมื่อ พระพุทธศาสนาแบบทวารวดีแผ่อิทธิพลจากภาคกลางเข้ามา และได้รับความนิยมจากประชาชนมากขึ้นตามลำดับ พร้อมกับ เขมรยุคเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง และสถานแห่งนี้ได้กลายเป็น วัดในพระพุทธศาสนา มีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมสลับกันไป จนถึงการอพยพเข้ามาของประชาชนจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมี เจ้าพระวอ และ ท้าวคำผง ผู้เป็นบุตร เจ้าพระตา เป็นผู้นำ วัดแห่งนี้จึงได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้ง โดย กองทัพของเจ้าพระวอ เมื่อมี การขุดพบหลวงพ่อเงิน ศิลปะเชียงแสนล้านช้าง ในบริเวณวัดแห่งนี้ ทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วัดแห่งนี้ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการตั้ง ค่ายบ้านดอนมดแดง ของเจ้าพระวอ เมื่อครั้งหนี ทัพเวียงจันทน์ ก่อนยอมขึ้นเป็นข้าขอบขันธสีมาสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และ สถาปนาค่ายบ้านดอนมดแดง ขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากหลักฐาน ที่เด่นชัด คือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ แห่งนี้ เป็นสถานที่ ได้ขุดพบ หลวงพ่อเงิน พระชัยหลังช้าง ปัจจุบัน หลวงพ่อเงิน ประดิษฐานอยู่ใน วิหารหลวงพ่อเงิน ณ วัดบ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ต.กุดลาด อ. เมือง จ. อุบลราชธานี ซึ่งหลวงพ่อเงิน เป็นที่กราบไหว้ และ เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศ แต่ละปีจะมี ประเพณีแห่หลวงพ่อเงิน ในเดือนเมษายน ของทุกๆ ปี อีกด้วย

ไหว้พระพิฆเนศ เครื่องของบูชา “พระพิฆเนศ”

ไหว้พระพิฆเนศ ควรประกอบไปด้วย น้ำสะอาด นมรสจืด หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ผลไม้มงคล เช่น กล้วย มะพร้าว อ้อย สับปะรด ส้ม ขนมหวาน เช่น ขนมลาดูโมทกะ ข้าวเปล่า ธูป 9 ดอก เทียน 2 เล่ม

ข้อห้ามในการ บูชาพระพิฆเนศ

  • ห้ามบูชาพระพิฆเนศ ในที่สกปรก มีกลิ่นเหม็น
  • ห้ามบูชาพระพิฆเนศ ในที่ที่มีเสียงดัง
  • ห้ามบูชาพระพิฆเนศ ด้วยของที่ไม่ดี
  • ห้ามบูชาพระพิฆเนศ ด้วยเนื้อสัตว์ทุกชนิด

ไหว้พระพิฆเนศ แล้ว เที่ยวไหนได้บ้าง?

“มาที่เดียว เที่ยวครบ” ชุมชนปากน้ำบุ่งสระพัง มีสถานที่สำคัญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ แหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ของชุมชน.  หลังจาก ไหว้พระพิฆเนศ วัดป่าบ้านบาก แล้ว สามารถแวะ เที่ยวชม เจดีย์บุ่งสระพัง (เจดีย์สองสายน้ำ) และ รับประทานอาหาร ที่ หาดบุ่งสระพัง ซึ่งเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ยอดฮิต ร้านอาหารแพริมน้ำมูล (แพร้านอาหาร จะไม่เปิดบริการฤดูน้ำหลาก ) ก่อนเดินทางกลับ  แวะเข้าสักการะ หลวงพ่อเงิน 700 ปี ที่ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง ( วัดป่าบ้านบาก  คือสถานที่ได้ขุดพบหลวงพ่อเงิน 700 ปี) ตามลำดับเส้นทาง แนะนำ สักการะ หลวงพ่อเงิน 700 ปี วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง – ไหว้พระพิฆเนศ วัดป่าบ้านบาก – เจดีย์บุ่งสระพัง หาดบุ่งสระพัง 

ไหว้พระพิฆเนศ อุบล วัดป่าบ้านบาก หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ 

วัดป่าพระพิฆเณศวร์ (วัดป่าบ้านบาก) ต.กุดลาด อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี  🌐 : https://www.facebook.com/Watbanbak1/

GPRS MAP แผนที่ เส้นทาง ไหว้พระพิฆเนศ อุบล วัดป่าบ้านบาก หรือ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ 

ลิ้งที่เกี่ยวข้อง

พระบูรพาจารย์ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง

สถานที่สำคัญ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง

สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

  • หาดบุ่งสระพัง  ร้านอาหารริมแม่มูล แพร้านอาหาร ความยาวนับกิโล มากมายหลายร้าน เรียงตลอดแม่มูล พร้อม สักการะ เจดีย์บุ่งสระพัง ระหว่างกลางแม่น้ำมูล และ แม่น้ำบุ่ง ( เส้นทางลงหาดบุ่งสระพัง จะผ่าน วัดป่าบ้านบ้านบาก)