หลวงพ่อเงิน 700 ปี อุบลราชธานี ณ บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี
มหัศจรรย์ หลวงพ่อเงิน 700 ปี, หลวงพ่อเงิน เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนล้านช้าง อายุ 700 ปี เป็น พระชัยหลังช้าง หนึ่งเดียวแห่งอีสาน หลวงพ่อเงิน เป็น พระพุทธรูป ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสถาปนาเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย แห่งค่ายนักรบในอดีต ได้ขุดพบ ณ จุดไกล้เคียง ค่ายดอนมดแดง ณ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ ริมแม่น้ำมูล หลวงพ่อเงิน ได้ขุดพบเมือง ปี พ.ศ. 2515 ภายหลัง ลำแสงประหลาด พุ่งขึ้นใส่เครื่องบิน ทหารอเมริกัน ใน ยุคสมัยสงครามเวียตนาม ” ประวัติความเป็นมา ของ หลวงพ่องิน อันสืบเนื่องจาก เมื่อคราว พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)ได้ สร้างพระอุโบสถมิตรภาพไทย-อเมริกัน นึ้น ท่านได้นิมิตถึง ตาชีปะขาว มาบอกว่าที่ วัดป่าพิฆเณศวร์ ยังมีสมบัติอยู่มาก แต่ไม่สามารถที่จะนำขึ้นมาได้ พร้อมกับระบุตำแหน่งให้ทราบ ของบางอย่างเจ้าของเขาไม่ให้ ของบางอย่าง นำขึ้นมาก็จะเกิดอันตรายแก่ผู้ครอบครอง แต่ยังมีของสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะอยู่ใต้แผ่นดิน อยากให้ไปเอาขึ้นมาเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็น สมบัติของพระศาสนา ให้ลูกหลานได้เคารพสักการบูชา ของสิ่งนั้น คือ “ พระพุทธรูปเงิน ” พร้อมกับกล่าวต่อไปว่ารุ่งขึ้นจะเกิดพายุในตอนบ่าย ต้นตาล ภายในวัดจะหัก ปลายตาลหักไปทางทิศไหน ก็ให้ไป ขุดตรงที่ปลายตาลที่ล้มลง ครั้นแล้ว ชายในชุดขาวก็หายไป เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา พระมงคลธรรมวัฒน์ เกิดความรู้สึกเป็นสุขเอิบอิ่มใจอย่างประหลาด ครั้นต่อมาก็เกิดเหตุการณ์ดังนิมิต
ชาวบ้านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ปกติต้นตาลเป็นต้นไม้ที่มีความแข็งแรง แม้ถูกลมพัดก็ยากที่จะหักโค่น แต่วันนั้นต้นตาล ในวัดร้างเมื่อถูกลมก็หักโค่นลงผิดปกติวิสัย สิ่งที่แปลกและน่าอัศจรรย์ คือ แทนที่ต้นตาลจะล้มไปตามแรงลม แต่ต้นตาลกลับทวนกระแสลม ล้มลงทางทิศเหนือ พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้นำชาวบ้านไปที่วัดป่า แล้วจุดธูปเทียน เครื่องสักการบูชาคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ พร้อมกับอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า“ หากเป็นจริงดังนิมิต ท่านก็จะรักษาพระพุทธรูปไว้ให้เป็นที่เคารพสักการบูชาของลูกหลานและพุทธศาสนิกชนสืบไป ขออย่าได้มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง” ครั้นแล้วก็ขุดตรงที่ปลายต้นตาลหักลงตามนิมิต เมื่อขุดลงไปลึกประมาณชั่วคนยืน ก็ได้พบแผ่นศิลา ๔ เหลี่ยมถูกจัดไว้ในลักษณะหีบ มีความสวยงาม อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ทุกประการ ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ลักษณะของการฝังผู้ฝังมีการเตรียมการไว้อย่างดี เมื่อนำขึ้นมาเปิด ฝาหีบออกก็ปรากฏว่า ภายในหีบศิลานั้นมีทรายเนื้อละเอียดสีขาวใสบริสุทธิ์เต็มหีบศิลานั้น เมื่อทรายต้องแสงอาทิตย์ก็ส่องประกายวาว ระยิบระยับ เมื่อนำทรายออกมา ก็เห็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อเงินบริสุทธิ์ ประดิษฐาน อยู่ภายใน หีบศิลานั้น ดังนิมิต ท่านบอกว่า “เสียดายที่หลวงพ่อไม่ได้เก็บทรายนั้นไว้”พระพุทธรูป นั้นคง พุทธลักษณะ ที่มีความงดงาม แม้จะถูกฝังรักษาไว้ใต้พื้นดินก็ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ผิวเงินยังสวยงามโดยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนใดๆ พระมงคลธรรมวัฒน์อัญเชิญหลวงพ่อเงินประดิษฐานไว้ แล้วน้อมลงกราบด้วยปีติและศรัทธาที่ตั้งมั่น จากนั้น ท่านได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ วัดปากน้ำ และถวายนามว่า “ หลวงพ่อเงิน” โดยกำชับชาวบ้านมิให้นำเรื่องนี้ไปบอกกล่าวให้ใครฟัง การที่ท่านกำชับไม่ให้ชาวบ้านนำเรื่องนี้ไปเล่าให้ใครฟัง เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาและถูกยึดไปเป็นสมบัติของหลวงเหมือนเมื่อครั้งขุด พระพิฆเณศวร์ ได้ ส่วน หีบศิลาหินทราย ท่านให้นำไปวางไว้ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ ภายในบริเวณวัดป่าแห่งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธองค์ ต่อมา ต้นโพธิ์ก็ได้ห่อหุ้มหีบศิลานั้นเอาไว้แล้วกลืนหายไปตามกาลเวลา พระมงคลธรรมวัฒน์ เล่าว่า เมื่อครั้งชาวบ้านขุดพบ พระพิฆเณศวร์ที่บริเวณวัดป่าแห่งนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ป.ธ. ๕ พุทธศักราช ๒๔๘๒-๒๔๙๙) ทราบข่าว ท่านได้ออกมาตรวจสอบและขอไป ปัจจุบัน พระพิฆเณศวร์ถูกนำไปเก็บไว้ที่วัดสุปัฏนาราม เมืองอุบลราชธานี เมื่อมีการขุดพบ พระพุทธรูป ตามที่ปรากฏใน นิมิตของ หลวงพ่อพระมงคลธรรมวัฒน์ ชาวบ้าน ทุกคนจึงถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรักษาหลวงพ่อเงินเทพนิมิตไว้เป็นมรดกของลูกหลานในหมู่บ้าน เพราะความผูกพันที่มีต่อบ้านเกิด และต้องการให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน พระมงคลธรรมวัฒน์ ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ประจำหมู่บ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง ให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ วิถีชีวิตชาวบ้านลุ่มน้ำบุ่งสระพัง” เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ และประวัติความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้ จะได้เป็นแหล่งศึกษาของประชาชนต่อไป หลวงพ่อเงิน กับการสถาปนาเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย.หลวงพ่อเงิน พระชัยหลังช้างแห่งแผ่นดินอีสาน เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงินปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนล้านช้าง ฝีมือตระกูลช่างชาวบ้าน อายุประมาณ ๗๐๐ ปี ขึ้นไป จากนิมิตของ หลวงพ่อพระมงคลธรรมวัฒน์ ทำให้ทราบว่า หลวงพ่อเงิน เป็นพระพุทธรูปที่มีความเกี่ยวข้องกับการสถาปนาเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำกองทัพ ของเจ้าปางคำ แห่งราชวงศ์เชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า สิบสองปันนา ที่แตกหนีกองทัพจีนฮ่อมาสร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หนองบัวลุ่มภู ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ในการนั้น เจ้าปางคำได้อัญเชิญหลวงพ่อเงินขึ้นเป็นพระพุทธรูปประจำทัพมาด้วย ต่อมา ราวปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ได้ครองราชย์ เกิดหวาดระแวงเจ้าพระวอ เจ้าพระตาว่าจะเป็นกบฏ พระเจ้าสิริบุญสารจึงได้ยกทัพมาตี นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ทำให้เจ้าพระตาถึงแก่อสัญกรรม ในสนามรบ เจ้าพระวอ ผู้น้องขึ้นเป็นผู้นำกองทัพแทน และได้ย้ายบ้านเมืองจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน มาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บ้านดอนมดแดง อันเป็นบริเวณอำเภอดอนมดแดงตลอดลำน้ำมูลขึ้นมาจนถึงตำบลกุดลาด ไปจนถึงที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี ในปัจจุบันภายหลังเจ้าพระวอ ถูกทหารเวียงจันทน์โจมตี จนถึงแก่อสัญกรรมที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก เขตนครจำปาศักดิ์ ต่อมาท้าวคำผง ผู้บุตรเจ้าพระตา ได้ขึ้นเป็นผู้นำกองทัพ และได้แต่งตั้งให้ทหารไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสืบไป
หลวงพ่อเงิน จึงน่าจะเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองที่มี ความสำคัญ หรือพระพุทธรูปประจำค่ายบ้านดอนมดแดงของเจ้าพระวอ ถ้าจะเปรียบก็น่าจะอยู่ในระดับพระไชยหลังช้าง คือ เป็นพระพุทธรูปประจำทัพ เมื่อจะไปทัพที่ไหน เมื่อเกิดสงครามที่ไหน ก็จะอัญเชิญ พระพุทธรูปประดิษฐานบนหลังช้างไปกับกองทัพ เพื่อให้เป็นสิริมงคลและเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ การขุดพบพระพุทธรูปเงินศิลปะเชียงแสนล้านช้าง บริเวณ วัดป่าพิฆเณศวร์ บุ่งสระพัง จึงมีความเป็นไปได้ว่า บริเวณ วัดป่าพิฆเณศวร์น่าจะเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ในการตั้งบ้านเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ของกองทัพเจ้าพระวอ ภายหลังอพยพมาจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานสู่ลุ่มน้ำมูล
ประเพณี แห่หลวงพ่อเงิน 700 ปี ประจำปี 2560 และ ขบวนสัญญาบัตร พัดยศ พระราชกิจจาภรณ์ อุบลราชธานี
ประเพณี แห่หลวงพ่อเงิน 700 ปี ประจำปี 2556