วัดป่าบ้านบาก ชุมชนเก่าแก่ กองกำลัง ฐานทัพ ค่ายบ้านดอนมดแดง
วัดป่าบ้านบาก ตั้งอยู่ที่ ดงพระคเณศ เป็นวัด ชุมชนเก่าแก่ ตั้งแต่โบร่ำโบราณ สันนิษฐานว่า เมื่อคราว กองกำลัง ฐานทัพ ค่ายบ้านดอนมดแดง ของ เจ้าพระวอ เจ้าเมือง อุบลราชธานี ใน อดีต ( เป็นสถานที่ ได้ขุดพบ หลวงพ่อเงิน พระชัยหลังช้าง ณ วัดแห่งนี้ ) วัดป่าพระพิฆเณวร์ ตั้งอยู่บริเวณบ้านปากน้ำ(บุ่งสระพัง) ต.กุดลาด อ. เมือง จ. อุบลราชธานี เดิมเป็น วัดร้าง อยู่กลางป่าใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำมูล ถัดจากบริเวณวัด มีหนองน้ำใหญ่ชาวบ้านเรียก “หนองวัด” เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๙ ชาวบ้านได้อพยพหนีขึ้นไปอยู่ที่สูง พร้อมกับสร้างวัดแห่งใหม่ประจำหมู่บ้านขึ้น วัดแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างไปตามกาลเวลา กลายเป็นป่ารกรื้อ ต้นไม้ขึ้นเต็มไปหมด ในที่สุดก็ไม่มีชาวบ้านคนใดเข้าไปในบริเวณวัดแห่งนี้อีก วัดป่าแห่งนี้ได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด
ในขณะที่ท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ กำลังดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่อยู่นั้น ท่านก็เริ่มเข้าไปบูรณะวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่า “ วัดป่าพิฆเณศวร์ ” สืบเนื่องมาจากได้พบ พระพิฆเณศวร์ หินทรายได้จากบริเวณดังกล่าว โดยมีความมุ่งหวังว่า จะทำให้วัดแห่งนี้เป็นวัดสำหรับพระธุดงค์ที่ต้องการความสงบ ซึ่งเดินทางผ่านมาได้ปักกลด พักอาศัย ในระยะแรกท่านตั้งใจจะไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่ประจำ เพราะต้องการให้เป็นที่ปลีกวิเวก จนกว่าจะมีชุมชนเกิดขึ้นในบริเวณนี้ ในขณะเดียวกัน ท่านก็มักปลีกตัวออกจากหมู่บ้านมาจำวัดที่ วัดป่า แห่งนี้ จนเกิดความอบอุ่นใจแก่ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ เล่าถึงสภาพวัดร้างแห่งนี้ ก่อนที่ท่านจะ เข้าไปบูรณะว่า “ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่ของ ฝูงลิง จำนวนมาก มีคนเคยตามฝูงลิง
พลัดหลงเข้ามาในป่าแห่งนี้ แต่ก็ต้องพบกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง” ภายหลังได้มีการพบ พระพิฆเณศวร์หินทราย อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ในบริเวณวัดร้างแห่งนี้ ข่าวคราวการ ขุดพระพิฆเณศวร์ ได้จากวัดร้างแห่งนี้ แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว จนถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ในสมัยนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระผู้ใหญ่ที่บัญชาการคณะสงฆ์ทางอีสาน เมื่อทราบข่าว ท่านจึงได้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร มาพบชาวบ้าน และได้ขอ พระพิฆเณศวร์ไ ป โดยได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่ วัดสุปัฏนาราม.
ศาลาการเปรียณ วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ
ต่อมา ท่าน เจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ จึงเข้าไปบูรณะขึ้นเป็นวัดป่าประจำหมู่บ้าน ท่ามกลางความหวาดหวั่นของชาวบ้าน เกรงจะเกิดอันตรายจากสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ เมื่อได้บูรณะวัดเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงให้ช่างปั้น รูปเหมือนพระพิฆเณศวร์ขึ้นไว้ภายในวัด เชิงสัญญลักษณ์ ความเป็นมา และ เพื่อเป็นการเตือนสติว่า วัดป่าแห่งนี้เป็นสถานที่ขุดพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติ และ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ยังมีรายงานการขุดพบโคอุสุภราชหินทราย ซึ่งเป็นวัวพาหนะของพระอิศวร ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ที่บริเวณข้างวัดป่าพระพิฆเณศวร์ ไปทางทิศตะวันออก (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชาวบ้านรอบวัด) และได้มีการขายทอดตลาดไปยังนักเล่นของเก่าใน จังหวัดอุบลราชธานี การขุดพบ พระพิฆเณศวร์หินทราย และ โคอุสุภราชหินทราย ซึ่งเป็น วัวพาหนะของพระอิศวร ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่บริเวณวัดร้างแห่งนี้.การพบวัตถุโบราณ ของศาสนาพราหมณ์ ณ วัดป่าแห่งนี้ เป็นหลักฐาน ทำให้เชื่อแน่ได้ว่า สถานที่แห่งนี้จะเป็นชุมชนโบราณ และเป็นสถานที่ทางศาสนาพราหมณ์ ใน ยุคเจนละบกเจนละน้ำ และมีอิทธิพลสืบต่อมาจนถึงเขมรยุคเมืองพระนคร ต่อมา
เมื่อ พระพุทธศาสนาแบบทวารวดี แผ่อิทธิพลจากภาคกลางเข้ามา และได้รับความนิยมจากประชาชนมากขึ้นตามลำดับ พร้อมกับ เขมรยุคเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง และสถานแห่งนี้ได้กลายเป็น วัดในพระพุทธศาสนา มีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมสลับกันไป จนถึงการอพยพเข้ามาของประชาชนจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมี เจ้าพระวอ และ ท้าวคำผง ผู้เป็นบุตรเจ้าพระตา เป็นผู้นำ วัดแห่งนี้จึงได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้ง โดยกองทัพของเจ้าพระวอ เมื่อมีการขุดพบ หลวงพ่อเงิน ศิลปะเชียงแสนล้านช้าง ในบริเวณวัดแห่งนี้ ทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วัดแห่งนี้ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการตั้ง ค่ายบ้านดอนมดแดง ของเจ้าพระวอ เมื่อครั้งหนี ทัพเวียงจันทน์ ก่อนยอมขึ้นเป็นข้าขอบขันธสีมาสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และ สถาปนาค่ายบ้านดอนมดแดง ขึ้นเป็น เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากหลักฐาน ที่เด่นชัด คือ ณ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ แห่งนี้ เป็นสถานที่ ได้ขุดพบ หลวงพ่อเงิน พระชัยหลังช้าง ณ ปัจจุบัน หลวงพ่อเงิน ได้อัญเชิญ ณ วิหารหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเงิน เป็นที่กราบไหว้ และ เคารพบูชา ทั่วสารทิศ ณ วัดบ้านปากน้ำ และ มีประเพณี แห่หลวงพ่อเงิน ทุก ๆ ปี , ในอดีต เนื่องจากวัดแห่งนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ประชาชนซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบลำน้ำมูลและบุ่งสระพัง ประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ต่อมา คงถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเมื่อคราวเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๓๑๙-๒๓๒๐ จนเจ้าคุณท่านเจ้าคุณ พระมงคลธรรมวัฒน์ เข้ามาพัฒนา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พร้อมกับนำความเจริญก้าวหน้าเข้ามาสู่ หาดทราย ปากบุ่งสระพัง แห่งนี้อีกครั้ง จนกลายเป็น แหล่งท่องเที่ยว ที่นิยมของ จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน นั่นคือ หาดบุ่งสระพัง ที่มีชื่อเสียง แหล่งท่องเที่ยว ริมน้ำมูล ติดธรรมชาติ และ ยังมี เจดีย์ บุ่งสระพัง เจดีย์สีทองอร่าม สวยงาม คู่ แม่น้ำมูล และ บุ่งสระพัง.
พระอาจารย์ มหาไพทูล ชุตินฺธโร
เจ้าอาวาส วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ
พระอาจารย์ มหาไพทูล ชุตินฺธโร ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดป่าบ้านบาก ดงพระคเณศ ณ ปัจจุบัน วัดป่าบ้านบาก เป็นสถานที่ ปฏิบัติธรรม ของชุมชน และ พุทธศาสนิกชน ผู้ที่สนใจ
วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง หลวงพ่อเงิน ๗๐๐ ปี
https://www.facebook.com/watpaknumubon
วัดบ้านบาก วัดป่าพระพิฆเณศวร์
https://www.facebook.com/Watbanbak1
ข่าวสารเกี่ยวข้อง : https://www.paknamubonclub.com/ข่าวสาร/พระมหาไพทูล_ชุตินฺธโร/
ข่าวสารชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน
https://www.paknamubonclub.com/
พระอาจารย์มหามังกร ปัญญาวโร พระบูรพาจารย์ชุมชน
ท่านเคยได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2529-2531
มรดกธรรม ของอาจารย์ พระมหามังกร ปัญญาวโร
คลิ๊กฟังเทศนาธรรม
พระบูรพาจารย์ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง
สถานที่สำคัญ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง
- หลวงพ่อเงิน 700 ปี
- หลวงพ่อเงิน องค์จำลอง
- หลวงพ่อนาคปรก
- พระพุทธมงคลโสฬสญาณวิเศษศักดิ์สิทธิ์
- พระอุปคุต
- อุโบสถมิตรภาพไทย-อเมริกัน
- อัฐิธาตุสถาน พระมงคลธรรมวัฒน์ พระธาตุพนม จำลอง
- อาคารสมเด็จ พระพุฒาจารย์
- พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ