บุญสังฆทาน เผือก มัน ประจำปี บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี

ร่วมบุญ วิถีพุทธ ประเพณีอีสาน ” บุญสังฆทาน เผือก มัน ประจำปี ” ณ บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี , การทำบุญสังฆทาน เผือก มัน อีกหนึ่งประเพณี อีสาน เก่าแก่ ที่ ปฏิบัติสืบเนื่อง กันมา ตั้งแต่โบร่ำโราณ – ปัจจุบัน การทำบุญสังฆทาน เป็นประเพณ๊ ทาง ภาคอีสาน ซึ่งได้ทำ เป็นประจำ ทุก ๆ ปี ใน ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
ทุกคุ้มวัด หมู่บ้าน จักต้องจัด งานบุญสังฆทาน ต่าง ๆ อาทิเช่น สังทานเผือก มัน , สังฆทานข้าวเม่า เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ โดยจะมี ชาวบ้าน แต่หมู่บ้านในละแวกไกล้เคียง มา ร่วมทำบุญ เพื่อเชื่อม สัมพันธ์ไมตรี และ เพิ่มความสามัคคี ใน หมู่ชุมชน ไกล้เคียง ได้ทั้ง บุญ และ ความสามัคคี ใน ชุมชน.

บุญสังฆทาน เผือก มัน ประจำปี ชุมชน ปากน้ำ บุ่งสระพัง หลวงพ่อเงิน 700 ปี อุบลราชธานี

ทุกปี ๆ ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี ได้กำหนดจัด งานทำบุญ สังฆทานเผือกมัน ช่วงเดือน ตุลาคม ณ วัดบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้.
11.00 ร่วมกัน ถวายสังฆทาน เผือก มัน แด่ พระภิกษุสงฆ์
หลังจากนั้น จะ เป็นการ ประกวดสารภัญญะ แต่ละคุ้มวัด หมู่บ้านต่าง ๆ และ ตามไปด้วย การ มอบทุนการศึกษา แด่เยาวชน
หลังจาก พระภิกษุสงฆ์ ฉันภัตตาหารเพล เสร็จ แล้ว ร่วมกันรับประทานอาหาร กลางวันพร้อมกัน ที่ ศาลาการเปรียญ

ความหมาย เกี่ยวกับ บุญสังฆทาน

“สังฆทาน” หมาย ถึงทานที่ถวายโดยไม่เจาะจงเฉพาะสงฆ์ รูปใด รูปหนึ่ง.คือถวายแก่สงฆ์ที่เป็นหมู่คณะ สิ่งของที่ใช้ถวายสังฆทานก็ควรเลือกให้เหมาะสมต่อภิกษุภาวะ และภูมิประเทศ ที่วัดนั้นตั้งอยู่ เช่นแก้ภูมิแพ้ เป็นต้น รวบรวมสิ่งของใส่ภาชนะที่เหมาะสม และพระท่านสามารถนำไปใช้ได้ด้วยก็จะสุดยอด และควรจะให้หยิบยกถวายประเคนได้ง่าย (ไม่จำเป็นต้องเป็นสีเหลือง) ถ้าเราหาเลือกซื้อของเอง น่าจะได้ของดี ของไม่หมดอายุ และราคาเหมาะสม. สังฆทานนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นทานที่มีอานิสงส์มาก.

ลักษณะของทานที่ชื่อว่าเป็นสังฆทาน
ทานที่ได้ชื่อว่าเป็นสังฆทานนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ

  • จะต้องไม่เจาะจงตัวภิกษุผู้มารับทาน เช่นไม่ต้องระบุชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของภิกษุที่จะให้มารับทาน เพียงแต่ไปติดต่อกับภิกษุหรือผู้ที่มีหน้าที่จัดกิจนิมนต์ แล้วแสดงความประสงค์ว่า ขอให้จัดภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อให้มารับสังฆทาน
  • ต้องทำความเคารพยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำความดีใจหรือเสียใจให้เกิดขึ้น การทำความยำเกรงในสงฆ์คือ จัดแจงต้อนรับทำการถวายทานด้วยความเคารพ ถือว่าภิกษุนี้เป็นตัวแทนที่สงฆ์แต่งตั้งมา เมื่อได้ภิกษุที่เป็นพระเถระมารับทาน ก็ไม่ทำความดีใจให้เกิดขึ้นว่า เราได้ภิกษุผู้เป็นพระเถระมารับทาน หรือเมื่อได้ภิกษุหนุ่มเพิ่งบวชใหม่ หรือสามเณรเป็นผู้มารับทาน ก็ไม่ทำความเสียใจให้เกิดขึ้น. ถ้าทำความดีใจหรือเสียใจให้เกิดขึ้น ทานนั้นไม่ชื่อว่า “สังฆทาน” ส่วนบุคคลใด ได้ภิกษุหนุ่มหรือเถระผู้เป็นพาลหรือบัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจากสงฆ์แล้ว ไม่สงสัยติดใจภิกษุรูปนี้เป็นผู้ทรงศีลหรือทุศีล (ถึงแม้ตนจะรู้ว่าภิกษุรูปนี้เป็นผู้ทุศีล) ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายทานแก่สงฆ์โดยผ่านทางตัวแทน(คือภิกษุรูปนี้) ที่สงฆ์จัดมาให้ เช่นนี้ชื่อว่า “สังฆทาน”

ประเพณี อีสาน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง