กำหนดการ“พิธีฮดสรง” (พิธีเถราภิเษก)
พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ)
กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชอุปเสณาภรณ์ (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี ปุญฺญาวํโส) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระครูสิริวิหารการ (สมจิตร จิตฺตธมฺโม) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ณ วิหารหลวงพ่อเงิน วัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ตำบลกุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พิธีแผ่น้ำ ๙ มงคล วันเสาร์ ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และพิธีฮดสรง(พิธีเถราภิเษก)วันอาทิตย์ ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘
พิธีแผ่น้ำ ๙ มงคล วันเสาร์ ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ (แรม ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย(๑)
เวลา ๑๒.๑๙ น. พิธีแผ่น้ำ ๙ มงคล ประกอบพิธีพลีกรรมอาฮัก พระภูมมเทวา ตลอดจนปู่คำแหง ปู่คำหาญ ปู่คำลือซา ปู่ทองลาย และปู่จันทรวงศ์ ผู้สร้างบ้านแปลงเมืองเพื่อขอตักน้ำจากส่างโบราณ ๙ มงคล
-ป่าวสัคเคเทวดา บอกกล่าวอาฮัก เทพยดาที่รักษาภุมมสถานน้ำส่างโบราณศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนบอกกล่าวปู่คำแหง ปู่คำหาญ ปู่คำลือซา ปู่ทองลาย และปู่จันทรวงศ์ ผู้สร้างบ้านแปลงเมือง
– ประกอบพิธีขอน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก ๙ ส่างโบราณ ประกอบด้วย
๑. น้ำส่างหอปู่ฯ (หอปู่ใหญ่บุ่งสระพัง)
๒. น้ำส่างท่าน้ำคำ
๓.น้ำหนองสะทัง(สถานที่เล่าขานถึงฆ้องทองคำดังขึ้นในคืนวันศีล)
๔. น้ำส่างปู่วัดป่าฯ (วัดป่าพระพิฆเณศวร์)
๕. น้ำส่างบะเฮน(ดงบะเฮน ส่างบะเฮนเกิดจากการขุดให้ม้าบักเคน ซึ่งเป็นม้าในทัพพระวอ-พระตาบืนขึ้นจากหล่ม)
๖. น้ำส่างโบราณบ้านโนน
๗. น้ำส่างโบราณบ้านน้อย
๘. น้ำส่างโบราณบ้านกลาง
๙. น้ำส่างโบราณบ้านใหญ่
เวลา ๑๖.๓๙ น. แห่น้ำ ๙ มงคลพร้อมแผ่น้ำและดอกไม้จากผู้เฒ่าผู้แก่ไปตามถนนเส้นทางกลางหมู่บ้าน จากบ้านโนน บ้านน้อย บ้านกลาง และบ้านใหญ่ เข้าสู่วัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง)
– อัญเชิญน้ำ ๙ มงคลเข้าเก็บรักษา ณ วิหารหลวงพ่อเงิน
เวลา ๑๘.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์สูตรจุลลไชยปกรณ์ (ไชยน้อย) สูตรน้ำธรรมน้ำเที่ยงเพื่อสมโภชน้ำ ๙ มงคล
หมายเหตุ พิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชน้ำ ๙ มงคล เป็นเวลา ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ – วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ เวลา ๑๘.๐๐ น.
พิธีฮดสรง(พิธีเถราภิเษก) วันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ (ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่(๒)
เวลา ๐๘.๓๐ น. ตั้งขบวนแห่พระเถระจากโรงเรียนบ้านปากน้ำ เข้าสู่วัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง)
เวลา ๐๙.๒๙ น. พิธีฮดสรง (พิธีเถราภิเษก)
– อาจารย์ดุสิต – คุณกัญญกาญจน์ ศิริวรรณ จุดธูป เทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
– ผู้แทนคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชน เข้าถวายสักการะพระราชกิจจาภรณ์ ประกอบด้วย
– พระศรีวิสุทธิมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในนามคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี
– พระครูโกศลธรรมประโชติรก.ผอ.รร.มงคลธรรมวัฒน์วิทยา ในนามโรงเรียนมงคลธรรมวัฒน์วิทยา
– นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๑ ในนามพุทธศาสนิกชนจังหวัดอุบลราชธานี
– คุณตาเลิศ ประสานพิมพ์ ในนามตัวแทนศิษยานุศิษย์ในพระราชกิจจาภรณ์
– นายสุวรรณ บญจูง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
ในนามประธานจัดงาน ฯ
– พิธีกรอาราธนาศีล
– ประธานสงฆ์ให้ศีล จบแล้ว
– อาจารย์ดุสิต – คุณกัญญกาญจน์ ศิริวรรณ
-ดร.จิดาภา นารายณ์ทอง และคณะ
ถวายขันนิมนต์พระเถระทั้ง ๕ รูปเข้าสู่โฮงฮดสรง
– พระมหาเถระรัตตัญญูนำพระเถระทั้ง ๕ รูป เวียนประทักษิณโฮงฮด ๓ รอบ
– อาจารย์ดุสิต – คุณกัญญกาญจน์ ศิริวรรณ , -ดร.จิดาภา นารายณ์ทอง และคณะถวายผ้าไตรพระเถระทั้ง ๕ รูป
– คุณพ่อเกิน – คุณแม่หนูเพชร วงศ์ชะอุ่ม โยมบิดา โยมมารดาพระราชกิจจาภรณ์ ถวายคันโธน้ำหอม
– พระเถระทั้ง ๕ รูป จุดเทียนกิ่ง เทียนตีนกา
– พระมหาเถระรัตตัญญูถวายน้ำมหาสังข์ประกอบพิธีเถราภิเษกถวายน้ำสรง
(พระสงฆ์ทั้งนั้นเจริญบทจุลลไชยปกรณ์, ลั่นฆ้อง กลอง ระฆัง, มโหรีเสพถวาย)
– พระเถระทั้ง ๕ รูป เปลี่ยนผ้าไตร เสร็จแล้วเข้าสู่วิหารหลวงพ่อเงิน
– พระราชกิจจาภรณ์ ถวายเครื่องสักการะ จุดธูป เทียนเครื่องทองน้อย บูชาพระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล)
– พระราชกิจจาภรณ์ ทอดผ้าไตรบังสุกุล ๑๐ ไตร
– พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๑๐ รูป พิจารณาผ้าไตรบังสุกุล
– เจ้าภาพถวายไทยธรรม
– พระสงฆ์ทั้งนั้นอนุโมทนา
เวลา ๑๐.๔๙ น. พิธีสืบชะตาหลวงแบบอีสาน
– ถวายบายศรีสู่ขวัญ
– ศิษยานุศิษย์แ์สดงมุทิตาสักการะ
เวลา ๑๑.๑๙ น. ถวายภัตตาหารเพล
– ผู้ร่วมพิธีรับประทานอาหาร
– เสร็จพิธี
สำนักงานวัดปากน้ำ
โทร. ๐๘๔ ๘๗๗ ๑๓๒๗ พระมหาไพทูล ชุตินฺธโร เลข.รจจ.อุบลราชธานี
โทร. ๐๘๐ ๕๔๘ ๖๕๙๕ พระมหาสุวัฒน์ กิตฺติเมธี,ดร. เลข.รจจ.อุบลราชธานี
แหล่งน้ำ ๙ มงคล
แหล่งน้ำ ๙ มงคลที่นำมาใช้ในพิธีฮดสรง(พิธีเถราภิเษก) พระราชกิจจาภรณ์(เทอด ญาณวชิโร) โดยแหล่งน้ำโบราณที่จะนำมาใช้ในพิธีฮดสรง เป็นแหล่งน้ำโบราณในพื้นที่บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ตำบลกุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย
๑. น้ำส่างหอปู่ฯ (หอปู่ใหญ่บุ่งสระพัง) เป็นบ่อน้ำโจก หรือน้ำซับใต้ศาลปู่ใหญ่บุ่งสระพัง มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี เป็นบ่อน้ำที่ใช้ในพิธีเลี้ยงปู่ตาของชาวบ้านมาแต่โบราณ จึงเรียก ”ส่างปู่“ เดิมคาดว่า น่าจะเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาใช้ในพิธีกรรมของเทวาลัยมาตั้งแต่ยุคพราหมณ์
๒. น้ำส่างท่าน้ำคำ เป็นบ่อน้ำซับมีน้ำตลอดทั้งปี เดิมคาดว่าเป็นบ่อน้ำที่ใช้ในพิธีเลี้ยง “ปู่คำลือชา” หรือ “ปู่ท่าน้ำคำ” ของชาวบ้านมาแต่โบราณ ต่อมาข้าวจ้ำ และผู้เฒ่าผู้แก่ได้ทำพิธีอัญเชิญปู่คำลือชาจากท่าน้ำคำให้มาอยู่รวมกันกับปู่คำแหง ปู่คำหาญ ปู่ทองลาย และปู่จันทร์วงศ์ที่หอปู่ใหญ่บุ่งสระพังสืบมาจนถึงปัจจุบัน ตามคำแนะนำของพระครูวิโรจน์รัตโนบล(รอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง
๓.น้ำหนองสะทัง ตำนานชาวบ้านเล่าว่า หนองสะทังเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ชาวบ้านได้ยินเสียงฆ้องทองคำดังขึ้นในวันศีล(วันพระใหญ่) ภายหลังจากมีลำแสงพุ่งขึ้นจากโนนบกจะตามมาด้วยเสียงฆ้องทองคำ สลับไปมาระหว่างหนองสะทังกับหนองวัด (วัดป่าพระพิฆเณศวร์)
๔. น้ำส่างปู่วัดป่าฯ (วัดป่าพระพิฆเณศวร์) อยู่ใกล้กับหนองวัด คาดว่า น่าจะเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาใช้ในพิธีกรรมของเทวาลัยในดงพระคเณศมาตั้งแต่ยุคพราหมณ์
๕. น้ำส่างบะเฮน ตามคำบอกเล่าต่อกันมาของชุมชน ส่างบะเฮนเกิดจากการขุดหลุมให้ม้าบักเคนในกองทัพพระวอ-พระตา (อาจเพี้ยนเสียงเป็น ”บะเฮน“) ซึ่งตกหล่มบืนขึ้นมาได้ เกิดน้ำไหลออกมาจากหลุมม้าบะเฮนไม่เคยแห้งมาจนถึงปัจจุบัน
๖. น้ำส่างโบราณบ้านโนน เป็นบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้าน เดิมตั้งอยู่ทุ่งคุ้มบ้านโนน
๗. น้ำส่างโบราณบ้านน้อย เป็นบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้าน ตั้งอยู่คุ้มบ้านน้อย
๘. น้ำส่างโบราณบ้านกลาง เป็นบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ศาลากลางบ้าน ใช้เป็นสถานที่สูตรบ้าน เดิมอยู่กลางดงบากใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่แรกเริ่มของการย้ายหมู่บ้านมาตั้งอยู่
๙. น้ำส่างโบราณบ้านใหญ่ เป็นบ่อน้ำโบราณของหมู่บ้าน ตั้งอยู่คุ้มบ้านใหญ่