บุญซำฮะ บุญเดีอน7 สวดบ้าน หนึ่งประเพณีอีสาน ตามประเพณีอีสาน ฮีตสิบสอง-ครองสิบสี่
วันนี้ บ้านเฮาได้ร่วมกันทำบุญ บุญเดีอน7 สวดบ้าน หนึ่งประเพณีอีสาน ตามประเพณีอีสาน ฮีตสิบสอง-ครองสิบสี่ เพื่อ ปัดรังควานและขับไล่เสนียดจัญไร ตลอดถึงเหล่าภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้าน ชุมชนบ้านเฮา
บุญซำฮะ (บุญชำระ) หรือ บุญเบิกบ้าน เป็นงานบุญในเดือนเจ็ด (ราวเดือนมิถุนายน) ตามฮีต 12 คอง 14 ของคนอีสาน(ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น) แต่ในบางพื้นที่นิยมจัดในเดือนหกซึงเป็นประเพณีต่อเนื่องจากการเลี้ยงผีปู่ตา เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีเป็นเสนียดจัญไรอันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง เป็นการปัดเป่าความชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อยเป็นการทำความสะอาดครั้งใหญ่ในรอบปี สิ่งที่ไม่ ดีทั้งหลายให้ขจัดออกไป เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในหมู่บ้าน มูลเหตุที่มีการทำบุญซำฮะ เนื่องมาจากสมัยพุทธกาลมีโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดมีผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากที่เมืองไพศาลี พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาโปรดทำให้เกิดฝนห่าใหญ่มาชำระบ้านเมือง มีการสวดปัดรังควานและประพรมน้ำมนต์ตามหมู่บ้าน และแก่ชาวบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งความเชื่อนี้ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
บุญซำฮะ บุญเดีอน7 สวดบ้าน หนึ่งประเพณีอีสาน ตามประเพณีอีสาน ฮีตสิบสอง-ครองสิบสี่
เมื่อถึงเดือนหกหรือเดือนเจ็ดคนในชุมชนก็จะกำหนดวันทำบุญบ้านในวันใดวันหนึ่ง เมื่อถึงวันก็จะมีการปลูกปะรำพิธี (ผาม) บริเวณ “หลักบือบ้าน”( ซึ่งในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ใช้บริเวณศาลากลางบ้านประกอบพิธีแทนการปลูกผาม (สมชาย นิลอาธิ, มปป.: 110) ก่อนจะเริ่มพิธีซำฮะนั้น เฒ่าจ้ำจะทำพิธีเชิญเจ้าปู่หรือผีปู่ตามาร่วมพิธีโดยการนำขันกะยองจากศาลปู่ตามาตั้งไว้บริเวณหลักบือบ้าน และให้ทุกเรือนจะต้องเตรียมด้ายไนไหมหลอด (สีขาว) โยงจากบริเวณปะรำพิธีไปบ้านเรือนของตนต่อไปเรื่อยๆจนครบทุกหลังคาเรือน เตรียมขวดน้ำ ด้ายผูกข้อมือ ขันน้ำหอม ตอนเย็นนิพระมาสวดพระพุทธมนต์ ตอนเช้าพระสงค์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายบิณฑบาตแด่พระสงฆ์ รับศีล ปะพรหมน้ำพระพุทธมนต์นำเสลี่ยงหามพระเดินไปรอบหมู่บ้านหว่านหินแห่ หว่านทราย ตอกหลักบ้านหลักเมืองตอกหลักปีหลักเดือน เสร็จพิธีแล้วนำน้ำพระพุทธมนต์ปะพรมสัตว์เลี้ยง วัว ควาย และบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข(สุภาพ บุตรวิเศษ, 2558)
ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตาและประเพณีบุญซำฮะ เป็นประเพณีความเชื่อของคนอีสานที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หรือเรียกว่า “สังคมแบบประเพณี” ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความเชื่อในเรื่องจิตวิญญานที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามประเพณีทั้งสองนี้ก็เริ่มจางหายไปอันเป็นจากการพัฒนาและการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้ ประเพณี ความเชื่อ และ ความศักดิ์สิทธิ์ ต้องเผชิญกับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงในโลกสมัยใหม่
✅ ที่มาของภาพข่าวจากเฟส พิสิทธิ์พงษ์ อุบล / https://www.facebook.com/sitboonoue
✅ https://www.paknamubonclub.com/