เจดีย์บุ่งสระพัง ณ หาดบุ่งสระพัง
เจดีย์ บุ่งสระพัง ตั้งอยู่ ณ หาดบุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ความเป็นมา ประเพณี ที่เกี่ยวข้อง เจดีย์บุ่งสระพัง,เจดีย์บุ่งสระพัง เป็นสถานที่ ประกอบพีธี บุญตบประทาย บุญเนาว์ ก่อเจดีย์ทราย ที่ บุ่งสระพัง บ้านปากน้ำ ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บุญตบประทาย บุญเนาว์ ก่อเจดีย์ทราย ณ เจดีย์บุ่งสระพัง เป็นอีกหนึ่ง วัฒนธรรม ประเพณีอีสาน ที่ปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมา ชั่วอายุคน นับร้อยปี ครั้งโบราณกาล นับตั้งแต่ ได้ก่อตั้งหมู่บ้าน ขึ้นมา ก็ต้องมี ประเพณีก่อเจดีย์ทราย (ตบประทาย บุญเนาว์ ) เป็นประจำทุกปี หลังจาก เทศกาลสงกรานต์ ก็จะมี บุญก่อเจดีย์ทราย ตบประทาย กิจกรรม บุญตบประทาย บุญเนาว์ ชาวบ้านนิมนต์ จะ พระภิกษุ สามเณร มาฉันภัตตาหารเพล (ฉันข้าวป่า )หลังจากนั้น ชาวบ้านรับประทานอาหารพร้อมกัน เชื่อมความสามัคคี ชุมชน และร่วมก่อเจดีย์ทราย และ สรงน้ำ พระภิกษุ สามเณร รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ไปร่วมทำบุญ ก่อเจดีย์ทราย. ณ ปัจจุบัน หาดบุ่งสระพัง เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียง ประจำจังหวัด อุบลราชธานี และ มี นักท่องเที่ยว มาพักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ริมมูลเต็มไปด้วยร้านอาหารแพริมน้ำ อำนวยความสะดวกสบาย สำหรับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน เจริญเติบโตคู่กับ วิถีชุมชน และ กาลเวลา แต่มีสิ่งหนึ่ง ที่ยังไม่มีการ ดูแล ทนุบำรุง อย่างเต็มที่เพื่อให้เป็น มรดกชุมชน ที่สืบต่อมาจาก บรรพ์ชน หลายชั่วอายุคน นั่นคือ สถานที่ประกอบ “พีธีก่อเจดีย์ทราย “หรือ ตบประทาย, พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ( หลวงพี่เทอด วงศ์ชะอุ่ม ) และ ท่านพระอาจารย์มหาวิมาน กันตสีโล เจ้าอาวาส วัดบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ท่านได้ตระหนักถึง ความสำคัญของสถานที่ ก่อเจดีย์ทราย ที่บุ่งสระพัง จึงได้ปรึกษากับ ผู้นำชาวบ้าน และ ชาวบ้านปากน้ำ ต่างเห็นดีด้วยกับการอนุรักษ์ และ ฟื้นฟู เจดีย์ ทรายแห่งนี้ไว้ให้กับ ลูกหลานในอนาคต เฉกเช่นเดียวกัน บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตายาย บ้านปากน้ำ ได้เฝ้าหวงแหนไว้ให้ลูกหลาน จากอดีต ไว้จนถึงวันนี้ จึงได้มีมติลงความเห็นว่าควรจะทำ เจดีย์ทรายแห่งนี้ ให้ เป็น เจดีย์ถาวรวัตถุ โดยตั้งชื่อว่า ” เจดีย์บุ่งสระพัง ” เป็น เจดีย์ คู่ บุ่งสระพัง ตราบนานเท่านาน ให้เป็น มรดกลูกหลาน ชั่วกาลนาน เจดีย์บุ่งสระพัง ซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการเริ่มก่อสร้าง ในอนาคตอันไกล้นี้ เราก็จะได้เห็น เจดีย์บุ่งสระพัง ตั้งตระหง่านคู่ หาดบุ่งสระพัง เป็น สัญลักษณ์ คู่ ชุมชน ปากน้ำ บุ่งสระพัง ที่มีประวัติ ความเป็นมานับร้อยปี ชั่วอายุคน “เจดีย์บุ่งสระพัง ”
ก่อนจะมาเป็น เจดีย์บุ่งสระพัง วันนี้
ข่าวสาร เกี่ยวกับ เจดีย์บุ่งสระพัง
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๖ พระปัญญาวชิราภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ พระราชกิจจาภรณ์ เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐ พระเมธีสุทธิกร กองงานเลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐ และคณะ ได้เดินทางไปหาดบุ่งสระพัง เพื่อดูความคืบหน้าการสร้างเจดีย์บุ่งสระพัง พร้อมทั้งร่วมพิธีวันเนาก่อเจดีย์ทราย
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิราภรณ์ ท่านเจ้าคุณพระเมธีสุทธิกร และ ท่านเจ้าคุณพระวิจิตรธรรมมาภรณ์ พร้อมคณะสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ ตั้งขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปประดิษฐานยังริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยเริ่มตั้งขบวนเดินเท้าจากวัดปากน้ำ (หลวงพ่อเงิน ๗๐๐ ปี) จ.อุบลราชธานี ไปยังเจดีย์หาดบุ่งสระพัง ระยะทางกว่า ๒ กิโลเมตร พลันที่ขบวนเดินเท้า อัญเชิญพระธาตุ มาถึงเจดีย์ริมฝั่งแม่น้ำมูล ณ หาดบุ่งสระพัง พุทธศาสนิกชนชาวอุบลราชธานีจำนวนหลายร้อยคนที่หาดแห่งนี้ ต่างออกมายืนรอรับขบวนเชิญพระธาตุกันด้วยความอิ่มเอิบใจ ต่างรอคอยร่วมพิธีบรรจุพระธาตุ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาสำหรับผู้ที่มาพักผ่อนหย่อนใจ ณ หาดบุ่งสระพัง ริมฝั่งแม่น้ำมูลแห่งนี้ บางท่านก็ตระเตรียมภัตตาหารเพลพร้อมไว้สำหรับพระสงฆ์ สามเณร. ร่วมสมโภชเจดีย์ ณ หาดบุ่งสระพัง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี. ท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิราภรณ์ ท่านเจ้าคุณพระเมธีสุทธิกร และ ท่านเจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ พร้อมคณะสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ ตั้งขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปประดิษฐานยังริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยเริ่มตั้งขบวนเดินเท้าจากวัดปากน้ำ (หลวงพ่อเงิน ๗๐๐ ปี) จ.อุบลราชธานี ไปยังเจดีย์หาดบุ่งสระพัง ระยะทางกว่า ๒ กิโลเมตร